วงจรชีวิตของแมลงวัน

Last updated: 23 เม.ย 2560  |  128989 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วงจรชีวิตของแมลงวัน

แมลงวัน มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (COMPLETE METAMORPHOSIS) ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อน (หนอน), ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย

ระยะไข่
          แมลงวันสามารถผสมพันธุ์ได้ หลังจากเป็นตัวเต็มวัยได้เพียง 18-30 ชั่วโมงเท่านั้น และผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็จะหาแหล่งที่เหมาะสมในการวางไข่ โดยจะค้นหาแหล่งดังกล่าว โดยอาศัยกลิ่นเป็นตัวนำทาง มันจะเริ่มวางไข่ในที่ลับตา แสงแดดส่องไม่ถึง และมีความชื้นสูง โดยวางเป็นกลุ่มๆละประมาณ 120 ฟอง ตัวเมียบางตัวสามารถวางไข่ได้มากกว่า 10 ครั้งในชั่วชีวิต ดังนั้น แมลงวันตัวเมีย 1 ตัว สามารถขยายพันธุ์ได้ 200-1,000 ฟอง ไข่แมลงวันมีระยะฟักภายใน 6-12 ชั่วโมง

ระยะตัวอ่อน หรือหนอน 
          มีรูปร่าง เรียวยาว ปลายด้านท้องใหญ่ หัวหรือปากเรียวแหลมและแข็ง ตัวอ่อนจะกินของกำลังเน่าเหม็นมักชอบกลิ่นแอมโมเนีย หรือกลิ่นของยีสต์เป็นพิเศษ ตัวอ่อนจะกินอาหารมากจนเข้าใกล้ระยะดักแด้จึงจะหยุดกินอาหาร ระยะนี้กินเวลา 6-7 วัน

ระยะเข้าดักแด้
          เมื่อหนอนหยุดกินจะเริ่มคลานไปสู่ที่แห้งๆ เพื่อเริ่มปรับเปลี่ยนร่างกาย โดยหดตัวเองให้สั้นลง จนมีลักษณะอ้วนสั้น ผนังลำตัวจะแข็งขึ้นเพื่อห่อหุ้มตัวหนอน ระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะตัวโตเต็มวัน

ระยะตัวโตเต็มวัย 
          เมื่อเข้าดักแด้ และพัฒนาร่างกายสู่ภายในจนมีรูปร่างครบสมบูรณ์ก็จะเริ่มออกจากดักแด้ ซึ่งขณะที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ ยังบินไม่ได้ในทันที จะต้องใช้วิธีเดิน กระโดด เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 15 นาที ลำตัวและปีกเริ่มแข็งแรงขึ้นสามารถบินได้

วงจรชีวิตแมลงวัน

แมลงวันบ้านเติบโตได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย พวกมันผสมพันธุ์บนพืชผักเน่าเปื่อยที่มีความชื้น เช่น ในถังขยะที่เปิดอยู่ หรืออาหารสัตว์เลี้ยง

วางไข่ครั้งละ 120 ถึง 150 ใบ ฟักเป็นตัวได้ภายใน 8 – 72 ชั่วโมง
ตัวอ่อนแมลงวันบ้านใช้เวลา 3 – 60 วัน เพื่อเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
ดักแด้ใช้เวลา 3 – 28 วัน เพื่อเติบโตเต็มที่
ในที่ร่มสามารถพบแมลงวันบ้านได้ตามผนัง พื้น หรือเพดาน ส่วนที่กลางแจ้ง พบแมลงวันได้ตามต้นไม้ บนพื้น รั้ว กองปุ๋ยหมัก และถังขยะ
ตอนกลางคืนพวกมันชอบอาศัยอยู่บริเวณแหล่งอาหารที่สูงประมาณ 5 ถึง 15 ฟุตเหนือพื้นดิน

ภาพแสดง วงจรชีวิตแมลงวัน ดักแด้

 

ขอบคุณ

รูปภาพประกอบจาก Google

บทความอ้างอิงจาก

http://guru.sanook.com/6259/

http://www.rentokil.co.th/flies/species/

http://pasusat.com/แมลงวัน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้